ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับล้างรถ

ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับล้างรถ
ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับล้างรถ NEW high pressure water gun for cleaning car washer garden watering hose nozzle

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มหันตภัยเงียบในมายากลทางกฎหมาย

       มหันตภัยเงียบในมายากลทางกฎหมาย

กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ปกครองมากเสียกว่าจะสร้างเป็นธรรมให้แก่สังคม การอ้างกฎหมายเป็นการปิดปากผู้อยู่ภายใต้การปกครองหรือพลเมืองของรัฐ การตีความกฎหมายเป็นการสร้างกฎหมายขึ้นใหม่เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นบ่อยนัก อย่างเบาะๆก็ทำให้นักกฎหมายหรือนักศึกษาทั่วไปยอมรับจนขาดสติปัญญาไม่กล้าใช้เหตุผลของตนและยังเป็นการบังคับผูกมัดทางความคิดของบุคคลและสังคม กับทั้งการตรวจสอบและวิจารณ์กระทำมิได้ซึ่งคำพิพากษา เมื่อเป็นเช่นนี้จึงชี้ให้เห็นว่า นักกฎหมายบางท่านมีสัญญามาก(สัญญาคือ จำได้ หมายรู้ ดูออก บอกเล่า แจงสารเป็น หาได้ใช่มีสติปัญญาไม่ (ปัญญา หมายถึง การรู้แจ้งตามความเป็นจริง) โดยในประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายหรือระบบซีวิลจะเกิดขึ้นบ่อยๆและหันเข้าสู่ระบบคอมมอนลอว์ 



แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การตีความกฎหมายนั้นเป็นเพียงปลายทาง ต้นทางอยู่ที่การสร้างหรือการบัญญัติกฎหมาย(รัฐสภา) ในประเทศเราได้พยายามสร้างวาทกรรมหรือสถาปัตยกรรมทางกฎหมายให้เลิศหรูโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญที่มีไม่รู้กี่ฉบับ แต่สุดท้ายก็ไร้ผล จริงอยู่ ทุกสิ่งไม่เที่ยง(อนิจจัง) และที่จะสร้างหรือแก้ไขใหม่ก็เข้าวงจรเดิมอีกหรือเปล่า ฉะนั้นดูดีๆเมื่อจะต้องลงทุนในการสร้างกฎหมายแม่บทหรือรัฐธรรมนูญ(การบัญญัติกฎหมายเป็นการสร้างสังคม และบริบททางสังคมหรือปฎิมากรรมการอยู่ร่วมกันภายในรัฐซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า อากาศ) และเมื่อสร้างขึ้นมาแล้ว การกำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ขั้นตอนไม่ควรยุ่งยากซับซ้อน มีองค์ประกอบหลายเหตุปัจจัย เช่น การสร้างหรือจัดตั้งสถาบัน องค์กร หน่วยงานขึ้นมาใหม่,การกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ และกฎหมายย่อย อาทิ กฎหมายเด็ก,กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ควรให้เกิดความคุ้มค่าทั้งในเชิงวัตถุหรือราคา  และเชิงจิตวิญญาณได้ โดยเฉพาะการลงทุนด้านกระบวนการยุติธรรมในบางประเทศต้องดูให้ดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบางประเทศที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่นับถือผู้มีอำนาจ ผู้เป็นใหญ่ ผู้มีบุญคุณ จะทำลายล้างหลักการและเหตุผลทางกฎหมาย(นิติอิทธิผลในมายากลทางกฎหมาย) ทางแก้คือ สร้างสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) ทัศนะ อุดมการณ์ ระบบความเชื่อ และค่านิยม หรือในทางรัฐศาสตร์เรียกว่า กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง คนเรา ถ้าเห็นไม่ชอบ(มิจฉาทิฏฐิ)เสียแล้ว ย่อมคิดไม่ชอบ(มิจฉาสังกัปปะ)เช่น ในระบบราชการบางประเทศ บางคนเห็นว่า การที่ยศและตำแหน่งจะขับเคลื่อนได้ต้องเชื่อ ต้องฟัง ต้องปฎิบัติ ต้องรับใช้ ต้องพลีชีพให้เจ้านาย หรือ หนีตายช้า สู้ตายเร็ว(อย่าแสดงความเห็น หรือแย้ง หรือขัดผู้เป็นใหญ่) พูดง่ายๆก็คือ มันเป็นเช่นนั้นเอง จึงสรุปได้ว่า การสร้างกฎหมายในบางประเทศเป็นการบังคับ บีบ ปั้นรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองโดยไม่คำนึงถึงพื้นฐานทางวัฒนธรรม วิถี ระบบความเชื่อของพลเมืองของรัฐนั้นๆ ผลที่ได้คือ เจ๊ง,หายนะ,ทำลายตัวเอง นักกฎหมายบางท่านเข้าใจไปว่า  กฎหมายบันดาลได้ทุกสิ่ง สร้างความเป็นธรรม สร้างความชอบธรรม แต่ลืมไปว่า บางอย่างสร้างความระยำ หรือหายนะ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน จะระดมทรัพยากรต่างๆเข้ามาเป็นปัจจัยในการผลิตทำให้เกิดการทำลายล้าง ดิน น้ำ ป่า อากาศ แร่ธาตุ พลังงาน หมู่สัตว์ มนุษย์ คนชนบทเข้าเมือง เปลี่ยนวิถีชีวิตระบบความสัมพันธ์ หรือระบบนิเวศน์ เป็นต้น 


ในส่วนของการใช้หรือบังคับใช้กฎหมายในสังคมนั้นก็เป็นมหัตภัยเช่นกัน เนื่องจากเราต้องดูว่า มนุษย์ในแต่ละประเทศนั้นมีสันดาน พื้นเพ อัธยาศัยอย่างไร หรือในทางพระเรียกว่า โลภ โกรธ หลง หรือทำงานในลักษณะหลอกกันหรือไม่  เป็นต้น ทั้งผู้ใช้ และผู้ถูกบังคับใช้ก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ตรงนี้ต้องพิจารณา นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายขึ้นมาแล้ว ควรมีผลหรือสภาพและลักษณะที่ขับเคลื่อนได้ ไม่เป็นอุปสรรคแก่ผู้ปฎิบัติ สิ้นเปลือง หรือไม่คุ้มค่า เช่น เป็นพนักงานสอบสวนถูกกำหนดให้ส่งปืนมีทะเบียนมีเจ้าของไปตรวจพิสูจน์โดยถามจุดประสงค์การตรวจเพียงว่า เป็นปืนตามกฎหมายจริงหรือไม่ ควรกระทำหรือไม่ หรือสำนวนการสอบสวนต้องมีเอกสารครบถ้วนหรือไม่ ถึงจะขับเคลื่อนต่อไปได้ เป็นต้น  เนื่องจากการปฏิบัติต้องใช้ คน รถ น้ำมัน เงิน  หรือพูดง่ายๆว่า การบัญญัติกฎหมาย การออกระเบียบ ข้อบังคับ กฎ คำสั่ง   ไม่ควรเน้นรูปแบบ พิธีกรรม เงื่อนไข หรือวิธีการและขั้นตอน มากไปจนลืมหลักการที่แท้จริง ตรงนี้เรียกว่า เป็นภาระ และถ้าหากมีผลรวมเป็นจำนวนมากๆก็ทำให้เกิดหายนะ ลองดูซิ กฎ กติกา หรือกฎหมายต่างๆที่มีอยู่นั้น ท่านศรัทธาหรือไม่ เป็นประโยชน์หรือไม่ เป็นภาระหรือไม่ และสร้างหายนะหรือไม่ ลองดูซิ  จะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ อย่าไปปรุงแต่งจิตเลย คิดเสียว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล  เรา เขาจงยอมรับตามความเป็นจริง ใจจะได้ไม่เจ็บ ไม่ต้องไปปรุงแต่งจิต มันเป็นเช่นนั้นเอง ปล่อยไป ซึ่งในการท่อง หรือภาวนาในใจด้วยคำที่ว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือปล่อยไปนั้น เป็นอุบายล่อจิต หรือหลอกล่อจิตเพื่อมิให้เกิดการปรุงแต่งจิตหรือให้จิตทำงานหรือเกิดอาการคลาย ซึ่งมีผลคือจิตจะได้ไม่เจ็บ เนื่องด้วยไม่พอใจ(โกธะ) เช่นเดียวกับผู้ที่ทำสมาธิบาง ท่องว่า พุท โธ ,ยุบ ไม่ยุบ(พอง),สัมมา อะระหัง หรือจะท่องว่า ไม่เที่ยงๆ หรือจะไม่ท่องก็ได้ แต่ให้ใช้ปัญญาชำระกิเลสหรือดับความไม่พอใจ ไม่ยินดีเช่นว่านั้นก็ได้ เอวังก็มี ด้วยประการฉะนี้