ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับล้างรถ

ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับล้างรถ
ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสำหรับล้างรถ NEW high pressure water gun for cleaning car washer garden watering hose nozzle

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การรับฟังพิลึก

ที่ว่ากฎหมายเป็นมายากล (ความไม่แน่นอน)นั้น มีเหตุหลายปัจจัยเป็นต้นว่า

การรับฟังพิลึก


๑.การรับฟังข้อเท็จจริงหรือเนื้อหาแห่งสภาพและลักษณะความผิดที่ผู้กระทำผิดได้ก่อเหตุร้ายขึ้น(ลักทรัพย์ ฆ่า ผิดข้อสัญญา ผิดระเบียบ ผิดขั้นตอนกระบวนการ) ตรงนี้เป็นเรื่องน้ำหนักพยานหลักฐานที่ได้มาให้แก่ผู้มีอำนาจตัดสินความ(พนักงานสอบสวน,อัยการ,ศาล หรือหน่วยกระบวนการทางยุติธรรมใดๆ(ปปช. ปปง. ปปส. ปปท. สตง.) หรือชาวบ้านทั่วไปเข้าใจกันทั่วไปว่าพยานหลักฐานอ่อนหรือพยานหลักฐานน้อย และนักกฎหมายจะเรียกว่า ปัญหาข้อเท็จจริง

กลมายาวิธีตีความ

กลมายาวิธีตีความ


๒.การปรับบทเทียบความหรือการตีความอันเกิดจากการรับฟังข้อเท็จจริงหรือเนื้อหาแห่งความผิดอันยุติลงแล้วมาเทียบหรือเปรียบเทียบกับข้อกฎหมายว่าเข้ากันได้กับกฎหมายเรื่องใด ข้อใด บทบัญญัติใด(เจตนา ไม่เจตนา ประมาท ข้อหาลักทรัพย์หรือยักยอก เป็นสัญญาซื้อขายหรือเช่าซื้อ ผิดข้อตกลงข้อใด ผิดขั้นตอนข้อใด)

ปัญหาการตีความนี้เป็นปัญหาที่สร้างความสับสนน่าสะพรึงกลัวเพราะมีความไม่แน่นอนอย่างมากอันเนื่องมาจากเราไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดเจนหรือแม่นเหมาะ ว่า ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายนั้นแต่ละคำหรือถ้อยความมีเนื้อหาความหมายขนาด ขอบเขตหรือปริมาณเท่าใดกันแน่ ยกตัวอย่างง่ายๆ เป็นต้นว่า คำว่า ฝนตกภาวะใดที่เรียกว่า ฝนตก กล่าวคือ มีไอน้ำควบแน่นรวมกับฝุ่นขนาดเล็กแล้วมีหยดน้ำตกลงมาจากฟ้าไม่ถึง ๑ หยด,มีหยดน้ำตกลงมา ๑ หยด,มีหยดน้ำตกลงมาเกินกว่า ๑ หยด แต่ไม่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ หยด,มีหยดน้ำตกลงมา๑๐๐,๐๐๐ หยด,มีหยดน้ำตกลงมาจนพื้นดินหรือถนนเปียก,มีหยดน้ำตกลงมาจนต้นไม้ชอุ่มชาวไร่ชาวนาชอบใจ แล้วท่านผู้อ่านคิดว่า ฝนตกในลักษณะจึงเรียกกว่า ฝนตก


กฎหมายอาญาบ้านเราเน้นการตีความตามตัวอักษรหรือตัวอักษรหรือข้อความแทนเหตุผล กฎหมายแพ่งเน้นอารมณ์ความมุ่งหมายของคู่สัญญาในการเข้าทำสัญญา กฎหมายปกครองหรือมหาชนเน้นประโยชน์สูงสุดตกแก่รัฐและประชาชน คดีวินัยเน้นให้คนอยู่ในระบบหรือออกจากระบบขึ้นอยู่กับตัวแปรไม่แน่นอน  มักจะมีผู้รู้พูดอยู่เสมอว่าผมหรือเราตีความตามตัวอักษรและเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ซึ่งการพูดเช่นว่านี้ จริงๆแล้วเลื่อนลอยเพราะหาขนาด ขอบเขต ปริมาตรไม่ได้ว่าแค่ไหน เพียงใดดังเช่น เรื่องฝนกตกนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามนักกฎหมายส่วนใหญ่ไม่กล้าตีความเองจะต้องหรือจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนั่งเฝ้าและรอคอยคำพิพากษาศาลและมักจะเห็นและได้ยินกันอยู่บ่อยว่า นักเรียน นักศึกษา


นิติกร ผู้รู้กฎหมายจะทุ่มเถียงกันอยู่บ่อยๆทั้งที่เรียนกฎหมายเล่มเดียวกัน เป็นต้นว่า ผิด ไม่ผิด,เจตนา ไม่เจตนา, เป็นแพ่ง เป็นอาญา,ผิดลักทรัพย์ ผิดยักยอก,มีกฎหมายให้อำนาจทำได้ ทำไม่ได้ และผิดขั้นตอน ไม่ผิดขั้นตอน หรือถึงผิดขั้นตอนแต่ไม่เสียหายหรือเสียหายแต่คนละขั้นตอนก็ยังใช้ได้(ตำรวจจับผู้ร้ายโดยไม่ชอบ(ไม่มีหมายจับหรือเหตุจับซึ่งหน้า)แต่สอบสวนชอบ อัยการมีอำนาจฟ้อง

ซอฟแวร์มายากล

ซอฟแวร์มายากล



๓.การใช้และตีความของผู้มีอำนาจ ตรงนี้เป็นอันตรายที่สุดเนื่องจากผู้ใช้และตีความคือมนุษย์ซึ่งมีกิเลส(โลภะ,โทสะ,โมหะ และอคติ ๔) มากน้อยแตกต่างกันไป และที่สำคัญซึ่งเป็นกฎทั่วไปให้หลักไว้ว่า มนุษย์ไม่มีทางเป็นเครื่องมือวัดสิ่งใดๆได้อย่างแน่นอนเลย เว้นแต่มนุษย์ผู้นั้นจะมีความแตกต่างอย่างเด่นชัดจากมนุษย์ทั่วไป เป็นต้นว่าไม่มีอวัยวะสืบพันธุ์ หูหนวกทั้งสองข้าง,ตาบอดทั้งสองข้าง,ไร้ญาติพี่น้องหรือลูกเมีย หรือบรรลุธรรม เป็นพระหรือบวชเรียนรู้หนาวเย็นมามาก

เน้นกระบวนท่า

เน้นกระบวนท่า


๔.ปัญหานักกฎหมายเน้นกระบวนการหรือขั้นตอนทางกฎหมาย หรือเรียกว่า รูปแบบหรือแบบแผนพิธีกรรมทางกฎหมาย มากกว่าที่จะวิ่งเข้าเนื้อหาและสภาพและลักษณะแห่งความผิดที่ผู้กระทำได้ก่อ หรือพูดง่ายว่า เน้นวิธีการมากกว่าเป้าหมาย ทั้งที่ความยุติธรรมนั้นอยู่ที่เป้าหมายว่า ผิดหรือไม่ผิด

เช่นปัญหาเรื่องการไม่ปฏิบัติไปตามขั้นตอนต่างๆที่กฎหมายกำหนดเป็นต้นว่า ตำรวจทำร้ายผู้ต้องหาแล้วได้พยานหลักฐานมา,สอบสวนไม่ชอบเช่น (พนักงานสอบสวนสอบสวนเด็กไม่ถูกต้องตามพิธีกรรม อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง),ปัญหาเรื่องการไม่ปฏิบัติตามแบบ(ไม่ทำเป็นหนังสือ ลืมลงลายมือชื่อในคำฟ้อง)ปัญหาเรื่องระยะเวลา ยื่นล่าช้าเกินกว่ากำหนด ขาดอายุความ

การเน้นเช่นว่านี้มีเหตุผลและความชอบธรรมใด และควรเน้นทุกเรื่อง(คดีแพ่ง อาญา วินัย(คดีวินัยที่ใช้บังคับกับข้าราชการไม่มีอายุ
ความ) ปกครอง)หรือไม่ หากไม่เน้นอายุความแล้วเสียความชอบธรรมก็ต้องเน้น หากจะเน้นก็เน้นให้สั้นหรือยาวก็ว่ากันให้ชอบธรรม

นิติอิทธิพล

นิติอิทธิพล



๕.ปัญหาผู้ใช้หรือตีความตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใดๆ เป็นต้นว่า คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีอิทธิพล หรือผู้มีอิทธิพลเห็นว่า ผลการบังคับใช้หรือตีความไปทางใดทางหนึ่งก่อให้เกิด ส่วนได้เสีย

น้อยกระสันใหญ่

น้อยกระสันใหญ่



๖.ปัญหาเกิดจากตัวผู้มีอำนาจใช้และตีความกฎหมาย มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และเทคนิค น้อย เป็นต้นว่า อายุน้อย,ประสบการณ์ในการทำงานน้อย,เข้าใจบริบททางสังคมน้อย

นิติสิ่งแวดล้อม

นิติสิ่งแวดล้อม


๗.ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางกฎหมายเป็นต้นว่า งบประมาณ ค่าตอบแทน ความหวัง เส้นทางชีวิต วิทยาการหรือนิติวิทยาศาสตร์(ตรวจ เก็บ และพิสูจน์ข้อเท็จจริง) ขั้นตอนกระบวนทางยุติธรรมหรือเส้นทางการดำเนินคดี

นิติสวรรค์

นิติสวรรค์


๘.มายากลทั้ง ๗ นี้ นอกจากจะส่งผลร้ายต่อสังคมแล้ว มีประเด็นที่น่าพิจารณาก็คือเป็นภัยคุกคามทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากการลงทุนด้านยุติธรรมไม่ก่อให้เกิดสินค้าและการบริการ แต่กลับเป็นตัวทำลายสังคมเอง ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการสร้างกฎหมาย(นิติวิศวกรรม)ซึ่งเป็นกติกาหรือตัวกำหนดทิศทาง และการอยู่กินกันในสังคมหรือชาตินี้

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว จึงมีแนวความคิดทางกฎหมายว่า กฎหมายไม่ได้สร้างความเป็นธรรม ความเป็นธรรมอยู่ที่การแปลเนื้อความแห่งบทบัญญัติโดยสุจริตคำนึงถึง ส่วนได้เสียทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ศาสนา ทั้งการวางหลักเกณฑ์ทางกฎหมายก็ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม ส่วนได้เสีย ผลประโยชน์ที่ได้รับ ไม่สิ้นเปลือง สร้างเงื่อนไข ขั้นตอน หรือสิ่งอื่นใดอันมีผลเป็นปฏิปักษ์ต่อหลักการแห่งกฎธรรมชาติ

วิศวกรรมวิญญาณทางนิติ

วิศวกรรมวิญญาณทางนิติ



๙.ถึงจะวางหลัก สร้างเกณฑ์ หรือก่อตั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดีอย่างไรก็ตามก็ต้องล้มเหลว เนื่องจากวัฒนธรรมไทยยกย่องผู้มีอำนาจ ดังนั้นการสร้างกฎหมายที่ดีต้องสร้างที่ตัววัฒนธรรมซึ่งมาจากระบบเชื่อ แนวความคิด ค่านิยม อุดมการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลทางโลกของคนในสังคม กระบวนการหนึ่งที่ทำได้คือการกล่อมเกลาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ซึ่งหากจะกล่อมเกลา ณ ปัจจุบัน ที่ดีที่สุดก็คือ กล่อมเกลาที่ตัวผู้ใหญ่ มิใช่เน้นที่เด็กหรือนักเรียน นักศึกษา